พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ ยุคปลาย แม่พิมพ์หลวงวิจารณ์เจียรนัย (พ.ศ. 2414-2415)
ข้อสังเกตและสันนิษฐานพิมพ์นี้และเนื้อหาแบบนี้ (เพื่อการศึกษากันต่อไป)
1. พระชุดนี้สร้างหลังจากพระสมเด็จบางขุนพรหม เนื่องจาก ไม่มีพระพิมพ์นี้และเนื้อหาแบบนี้พระกรุบางขุนพรหม ครับ (น่าจะสร้างในช่วง พ.ศ. 2414-2415)
2. เนื้อหาพระชุดนี้ มีเอกลักษณ์ ชัดเจนมาก ดังนี้ครับ
2.1 แม่พิมพ์ ความปราณีต ความมาตรฐานในการตัด และการปาด ผ่านขั้นตอนที่เนียบและเท่ากัน แสดงถึง ทีมงานการสร้างน่าจะเป็นช่างหลวงชุดใหญ่ นั่นคือ ในช่วงเวลายุคปลายของสมเด็จโต ครับ
2.2 เนื้อพระ มวลสาร มีมวลสารที่ครบถ้วนสม่ำเสมอ แกร่งมาก แสดงถึง ทีมงานการสร้างน่าจะเป็นช่างหลวงชุดใหญ่ นั่นคือ ในช่วงเวลายุคปลายของสมเด็จโต ครับ
2.3 ปริมาณพระชุดนี้ พบว่า มีมากพอสมควรครับ และ สะสมกันในหมู่ชนชั้นตระกูลผู้สูงศักดิ์ สืบทอดกันมา (อ้างอิง : GALLERY พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์มาตราฐาน) ซึ่งไม่ตรงกับเซียนขายพระที่มักจะบอกว่าพระสมเด็จนั้น มีแค่ประมาณ200กว่าองค์ทำโดยสมเด็จโตทำมือเองทุกองค์ ...ซึ่งไม่น่าเชื่อถือ...... เพราะหากย้อนกับไปดูวิถีชีวิตคนสมัยโบราณในช่วงนั้น ยังมีทาส มากมาย อีกทั้งสมเด็จโตนั้นเป็นพระผู้ใหญ่ของแผ่นดินที่มีผู้นับถือมากมาย...ขุนนางต่างๆย่อมมาช่วยท่านทำพระมากมายครับ ดังเช่น พระสมเด็จบางขุนพรหม และ พระสมเด็จวัดเกษไชโย....... ซึ่ง กระผม Jimmy สันนิษฐานว่าพระชุดนี้ น่าจะเป็นพระสมเด็จยุคปลายและน่าจะแจกในงานพระศพของสมเด็จโต ด้วย จึงพบว่ามีปริมาณที่มากพอสมควร ครับ (สันนิษฐานไว้เบื้องต้น ครับ)
การวิเคราะห์ภาพสมเด็จวัดระฆัง Image Analysis แสดงรอยการเลี่ยมบูชาแบบ โบราณ |
เอกสารอ้างอิง ของ อดุลย์ ฉายอรุณ..และ รังสรรค์ ต่อสุวรรณ เพื่อประกอบการศึกษา ครับ
และ ปริอรรถาธิบายแห่งพระเครื่อง เล่ม๑ พระสมเด็จฯ ตรียัมปวาย พ.ศ.๒๕๑๑
อ้างอิง http://uauction2.uamulet.com/AuctionDetail.aspx?bid=377&qid=85588
มีอยู่ 2องค์ครับ สนใจติดต่อ 0946161611 ไม่แพงครับ
ตอบลบมีข้อกล่าวอ้างว่าพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ สากลนิยมนั้นสร้างขึ้นมาโดยไม่มีขอบแม่พิมพ์สำเร็จคือต้องนำพระหลังจากที่กดพิมพ์แล้วมาตัดขอบด้วยมืออีกทีหนึ่งและช่างที่แกะแม่พิมพ์พระสมเด็จจะแกะเส้นแม่พิมพ์ไว้เพื่อให้เป็นที่หมายของการตัดขอบพระบางองค์ถ้าตัดขอบพอดีกับเส้นก็จะไม่เห็นเส้นกรอบพระที่ตัดเกินไปพอดีเส้นกรอบก็จะเห็นเส้นกรอบแม่พิมพ์ตรงจุดนี้เองเราก็นำมาเป็นมาตรฐานในการดูเส้นกรอบได้...ส่วนตัวเห็นว่าเรื่องที่กล่าวอ้างมานี้ไม่มีหลักฐานและลายลักษณ์อักษรข้อพิสูจน์ว่าเป็นไปตามนั้นจริงและถ้าพิจารณาคำกล่าวอ้างดังกล่าวให้ละเอียดถี่ถ้วนแล้วจะเห็นว่าเป็นการอ้างเพื่อต้องการตีกรอบและจำกัดพิมพ์ทรงพระสมเด็จพิมพ์ใหญ่..ทั้งนี้เพื่อต้องการให้มีการเล่นหากันแค่เฉพาะพิมพ์ทรงที่อ้างว่าเป็นพิมพ์หลวงวิจารณ์ฯเท่านั้น..ซึ่งตามปกติแล้วช่างที่แกะเส้นแม่พิมพ์ไว้เพื่อให้เป็นที่หมายของการตัดขอบพระโดยเฉพาะด้านซ้ายองค์พระควรจะต้องแกะเส้นขอบแม่พิมพ์ให้ห่างจากเส้นซุ้มเหมือนด้านขวาจึงจะถูกต้องไม่ใช่ลากลงมาตรงกลางแขนหรือหัวไหล่แล้วกลืนหายเข้าในเส้นซุ้มและหากเป็นดังนั้นจริงคนที่ตัดขอบข้างพระทุกคนก็จะต้องยึดเส้นแม่พิมพ์ที่ช่างแกะไว้เป็นหลักคล้ายๆเส้นประและต้องทำการกดตอกลงที่ด้านบนตามแนวเส้นแม่พิมพ์นี้ซึ่งจะมีความเสี่ยงและเกิดข้อผิดพลาดสูงที่จะตัดกินโดนเส้นซุ้มเสียหายได้มากกว่าแน่นอน..อนึ่ง..โดยธรรมชาติเมื่อเราถอดพระสมเด็จออกจากแม่พิมพ์แล้วจะต้องมองเห็นแนวขอบแม่พิมพ์เป็นสันนูนสูงสี่ด้านชนกันอยู่แล้วซึ่งสามารถยึดแนวนี้เพื่อตัดตอกขอบด้านข้างได้เลยโดยไม่จำเป็นต้องแกะเส้นบังคับแม่พิมพ์ขึ้นมาใหม่และตำแหน่งที่ใช้ไม้ตอกกดตัดก็จะอยู่แค่บริเวณตามแนวชิดขอบด้านล่างติดกับหลังพระที่วางอยู่บนแผ่นรองตัดเท่านั้นเองและถ้าอยากเห็นภาพให้ชัดเจนยิ่งขึ้นก็ลองหาภาพพระสมเด็จที่ยังไม่ได้ตัดปีกด้านข้างมาศึกษาดู..ความเห็นส่วนตัวผิดถูกก็ขออภัย(เรื่องของหลวงวิจารณ์ฯคาดว่าย้งไม่มีข้อมูลหลักฐานพิสูจน์เป็นทางการ..และถึงจะมีvdoเปิดกรุมหาสมบัติหลวงวิจารณ์ฯออกมาแล้วก็จะเห็นได้ว่ามีแม่พิมพ์ใหญ่หลายแม่พิมพ์ของท่านที่ปรากฏว่าไม่มีเส้นวาสนากรอบกระจกเงินล้านตรงตามมาตรฐานพิมพ์สากลนิยมเลยแต่ถ้ามีเส้นวาสนาปรากฏก็แสดงว่าช่างเจตนาแกะเพื่อให้เป็นตำหนิในแม่พิมพ์ของตนไว้อยู่แล้วนั่นเอง)
ตอบลบขอบคุณครับ
ตอบลบ